วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

สมาชิกในห้องเรียน

       
  อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค     อาจารย์ปาล์ม
     

  1.         นายเกียรติศักดิ์ เกตุอักษร                          ไฟท์
  2.         นายจรณะ  แท่งทอง                                   เปา
  3.         นางสาวเฉลิมพร  ศรีมณี                             เจล
  4.         นายชาติศิริ  รัตนชู                                      ติ๊บ
  5.         นายชินวัฒร์  เพ็ชรโสม                               แมน
  6.         นายณฐกร ชัยปาน                                      โจ
  7.         นายณัฐกร สงสม                                         จ๊อบ
  8.         นายณัฐพล  วงศ์สุขมนตรี                            เกมส์
  9.         นางสาวทัสนีย์วรรณ  กาญจโนภาส              ษา
  10.          นายธนวัต  แก้วบุษบา                                 ธัน
  11.         นายนราธร  จันทรจิตร                                  เนม
  12.         นางสาวนิชาภัทร  เพ็ชรวงศ์                         แอม
  13.         นางสาวเบญญทิพย์  ฆังคสุวรรณ                 อ้าย
  14.         นางสาวปัถยา  บุญชูดำ                                ปัด
  15.         นายพศวัต  บุญแท่น                                     อ๊อฟ
  16.         นางสาวแพรพลอย  พรหมประวัติ                 แพรรี่
  17.         นายไฟซ้อล  ประชานิยม                              ซอล
  18.         นายภูมิภัทร  สรรนุ่ม                                      อ้วน
  19.         นายยศกร  บัวดำ                                           ทาย
  20.         นางสาวรัฐชา  วงศ์สุวรรณ                             เบญ
  21.         นายเรืองศักดิ์  ใหม่แก้ว                                 เอ็ม
  22.         นางสาววลีพร  ลิขิตธีระกุล                             นุ้ก
  23.         นายวาทิศ  อินทร์ปาบ                                    รถเบนซ์
  24.         นางสาววิภารัตน์  ดำสุข                                  ออม
  25.         นางสาวศศิธร  ชูปาน                                      จูน
  26.         นายศุภกิจ  ติเลส                                            ดุกดิก
  27.         นายเศรษฐชัย  ฐินะกุล                                   ตาล
  28.         นายสราวุธ  จันทร์แก้ว                                    ฟิล์ม
  29.         นายสุชาครีย์  งามศรีตระกูล                            เบนซ์ตี๋
  30.         นายสุริยา  หวันสะเม๊าะ                                    ดิ่ง
  31.         นายอนันต์  อาแว                                             นัง
  32.         นายอนุวัช  นุ่นเอียด                                         กอล์ฟ
  33.         นายอภิชัย  เสวาริท                                          บอล
  34.         นางสาว อรอุมา  หมากปาน                              ญาญ่า


วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบ AS/RS

Unit-load ASRS "Compact System"

Pallet ASRS working for supermarket
Pallet ASRS ของ Daifuku เป็นระบบจัดเก็บวัสดุอัตโนมัติที่ขายดีที่สุดในโลก เหตุผลคือ จัดเก็บได้เต็มประสิทธิภาพ, ปฏิบัติงานได้รวดเร็วและความหลากหลาย
Pallet ASRS เป็น “Compact System” (กระทัดรัดและอเนกประสงค์) ออกแบบเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาพแวดล้อมในการติดตั้งและสภาพการปฏิบัติงาน และสามารถออกแบบความสูงได้ถึง 40 เมตร
คลิกเพื่อชมโครงสร้างของ Unit-load ASRS และสามารถหมุนได้ 360 องศา

คุณลักษณะ

1.รวดเร็ว & วางใจได้

Daifuku สามารถนำเสนอหลากหลาย Stacker Crane เพื่อให้เหมาะกับวัสดุขนย้ายตามที่ท่านต้องการ ตลอดจนน้ำหนัก, ขนาดอาคารและสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างไรก็ตามทุกระบบเน้นคุณลักษณะคือ คุณภาพสูง, รวดเร็วและผลงานที่น่าพอใจ

2.ระบบควบคุมที่ทันสมัย

ด้วยระบบเครือข่ายอันชาญฉลาดของ Daifuku ทำให้สามารถควบคุมดูแลกระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ หรือบริหารจัดการสินค้าคงคลังด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสามารถควบคุมดูแล Shuttle Rack และอุปกรณ์ขนย้ายทั้งหมดได้อย่างเต็มระบบ ตลอดจนยังสามารถคอยตรวจสอบระบบแบบ Real Time เพื่อช่วยแก้ปัญหาและดูแลอุปกรณ์สนับสนุน (เช่น จอแสดงจำนวนเพื่อหยิบสินค้า)

3.ใช้งานง่าย & สะดวกต่อการซ่อมบำรุง

พนักงานสะดวกในการขนย้ายวัสดุโดยผ่านอุปกรณ์ลำเลียง ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในบริเวณที่มีเครื่องจักร ตลอดทั้งระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆ ยังง่ายต่อการเข้าถึงเพื่อไปทำการซ่อมบำรุงได้โดยง่ายอีกด้วย

4.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ระบบเครนความเร็วสูงทำหน้าที่ขนย้ายวัสดุได้อย่างฉับไวและทรงประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่สามารถลดจำนวนรอบของกระบวนการได้ แต่ยังลดจำนวนการใช้รถยกและการเคลื่อนย้ายภายในอีกด้วย เครนของ Daifuku ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะกินไฟน้อยและเก็บพลังงานได้ดี
  องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1.      โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2.      เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3.      หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4.      สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)
อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)
การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1.      ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2.      สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3.      ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4.      สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5.      ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ

6.      สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ระบบการจัดเก็บสินค้าและเรียกคืนสินค้าอัตโนมัติ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS)
คือ ระบบบริหาร การจัดเก็บสินค้า เก็บวัตถุอัตโนมัติ เหมาะกับบริษัทที่ต้องการลดการใช้งานพื้นที่ หรือต้องการเพิ่ม ปริมาณในการจัดเก็บมากขึ้น เช่น คลังสินค้า, โกดังสินค้า, อาคารจอดรถอัตโนมัต, ห้องเก็บสมุดอัตโนมัติ เป็นต้น

ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ 
กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่

ประโยชน์ที่จะได้รับลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า, เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้า, ทำงานรวดเร็ว แม่นยำ, บริหารทรัพยากรบุคคล, ประหยัดพลังงานไฟฟ้า

ข้อเสีย ของการตรวจวัดจากระยะไกล ที่เห็นได้ชัดมีอาทิเช่น
   1.  ต้องใช้ งบลงทุน ในเบื้องต้นและงบดำเนินการสูง โดยเฉพาะในการจัดหาสถานีติดตั้งและการสร้าง อุปกรณ์ตรวจวัด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีระดับสูง
   2.  ต้องใช้ บุคลากร ที่ได้รับการฝึกฝนมาโดยเฉพาะในการดำเนินงาน เนื่องจากต้องการผู้ที่มีความรู้พื้นฐานที่ดีมากพอสำหรับการ บริหารจัดการ ระบบและการ ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลที่ได้
   3.  ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังขาด ความละเอียด เชิงพื้นที่มากพอ เนื่องมาจากเป็นการสำรวจจากระยะไกล   ทำให้การศึกษาในบางเรื่องอาจมีข้อจำกัดอยู่มากพอควร
   4.  ข้อมูลที่ได้บางครั้งยังมี ความคลาดเคลื่อน อยู่สูง ซึ่งเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ ทั้งส่วนที่เกิดมาจากความบกพร่องของตัวระบบเอง และส่วนที่เกิดมาจากสภาวะแวดล้อมขณะทำการตรวจวัด

ประเภทการใช้งาน

single deep ASRS

Single-deep (ชั้นวางแถวเดี่ยว)

โครงสร้างแบบมาตรฐานของ ASRS เครนหนึ่งตัวทำหน้าที่ขนย้ายวัสดุสำหรับชั้นวาง 2 แถว (ฝั่งละแถว)
double deep ASRS

Double-deep (ชั้นวางแถวคู่)

เครนหนึ่งตัวทำหน้าที่ขนย้ายวัสดุสำหรับชั้นวาง 4 แถว (ฝั่งละสองแถว)
เหมาะสำหรับการจัดเก็บแบบหนาแน่นและมีอัตราเคลื่อนย้ายปานกลางถึงต่ำ
aisle change system with traverser

ระบบเครนแบบสลับ

เครนเพียงหนึ่งตัวสามารถสลับไปใช้ในแต่ละแถวของชั้นวาง ต่อมาภายหลังสามารถเพิ่มจำนวนเครนเพื่อรองรับอัตราเคลื่อนย้ายที่เพิ่มขึ้นได้
dual crane system

ระบบเครนคู่

เครนสองตัวทำงานพร้อมกันในแถวเดียวกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนย้ายวัสดุและความคล่องตัว
คลิกชมวิดีโอ–เทคโนโลยีระบบเครนคู่
odd-shaped load handling

ขนย้ายวัสดุอื่นๆ (ไม่ใช่พาเลท)

ขนย้ายวัสดุเป็นม้วนและรูปทรงอื่นๆ ก็สามารถทำได้
Long object handling ASRS

ขนย้ายวัสดุ – แบบท่อ & แผ่น

จัดเก็บวัสดุ – แบบท่อ, แท่งและแผ่น ความยาวได้ถึง 6.2 เมตร
ข้อมูลอ้างอิง – คลิก
stacker crane for cold storage

ทนความเย็น

Stacker Crane ที่ทนความเย็น เหมาะสำหรับการขนย้ายอาหารแช่แข็งภายใต้อุณหภูมิ -25~-30℃
แนวทางแก้ไข
FMS for Machining Center

ระบบผลิตแบบเน้นความคล่องตัว

เครนถูกออกแบบมาพิเศษเพื่อรองรับการขนย้ายวัสดุเข้า-ออกเครื่อง Machining โดยอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง

อุปกรณ์เสริม

Powered cart

อุปกรณ์ขนย้ายพาเลทขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

อุปกรณ์ขนย้ายจะขับเคลื่อนพาเลทไปยังตำแหน่งที่สะดวกต่อการขนย้าย
end-of-aisle conveyor

อุปกรณ์ลำเลียงพาเลท

อุปกรณ์จะลำเลียงพาเลทไปยังตำแหน่งที่จะขนย้ายโดยอัตโนมัติยังใช้ร่วมกับ STV ได้อีกด้วย
rail-guided vehicle, sorting transfer vehicle

พาหนะลำเลียงวัสดุ (STV)

ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ASRS กับอุปกรณ์ลำเลียงขาเข้า-ขาออก
pick-to-light for rack side

ชั้นวางพร้อม Pick-to-Light

Pick-to-Light ติดตั้งอยู่ข้าง ASRS สำหรับให้พนักงานหยิบกล่องสินค้า
pick-to-light for rack side

อุปกรณ์ลำเลียงแบบใช้แรงโน้มถ่วง

ติดตั้งอยู่ข้าง ASRS สำหรับให้พนักงานและรถยกหยิบกล่องสินค้า
remote monitoring, remote recovery

ตรวจสอบสถานะจากระยะไกล

พนักงานสามารถตรวจสอบสถานะของวัสดุผ่านกล้องที่ติดตั้งอยู่บนเครน ทำให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้รวดเร็วและปลอดภัย
maintenance cabin

พื้นที่ซ่อมบำรุง

พื้นที่ขนาดเล็กที่อยู่บนเครน เพื่อสะดวกในการซ่อมบำรุงและดำเนินการแก้ไขโดยเฉพาะคลังสินค้าที่มีความสูงมาก





วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม




ยุคแห่งหุ่นยนต์

ประธานบริษัทซอฟต์แบงก์กรุ๊ปแห่งญี่ปุ่น คุณมาซาโยชิ ซันได้ทำนายไว้ในเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2558 นี้ว่า จำนวนของหุ่นยนต์จะเติบโตแซงหน้าจำนวนประชากรมนุษย์ภายในอีก 30 ปีข้างหน้า ด้วยผู้คนต่างก็ชื่นชอบหุ่นยนต์ที่เลียนแบบกิริยาท่าทางมนุษย์และปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงเป็นข่าวดีของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในการนำหุ่นยนต์มาติดตั้งใช้งานเป็นจำนวนมาก ตามรายงานการสำรวจโดยสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติชี้จำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลกปัจจุบันมีมากกว่า 200,000 ตัวเมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 12% ต่อปีนับจากปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560[1]
universal-robot-manufacture-industry

เลือกสรรการลงทุนอย่างชาญฉลาด

นอกจากบริษัทที่มีสายการผลิตขนาดใหญ่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้แล้ว ธุรกิจขนาดเอสเอ็มอีก็สามารถนำมาใช้งานได้อย่างดี ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยของหุ่นยนต์รุ่นใหม่ ๆ แต่เมื่อต้องการลงทุนเริ่มต้นก็เป็นประเด็นสำคัญที่เอสเอ็มอีต้องระแวดระวังเป็นอย่างยิ่ง และมักจะอิงกับมาตรการการเงินดังนี้: ระยะเวลาคืนทุน หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน
ระยะเวลาคืนทุนนั้นติดตามผลเป็นรายปี และระยะเวลาที่การลงทุนนั้นใช้เพื่อให้ได้กระแสเงินสดรับสุทธิที่ได้จากการลงทุนคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องลงทุนไป มีข้อเสียเปรียบหลายประการในการวัดความเสี่ยงการลงทุนด้วยวิธีนี้ อาทิ วิธีการนี้มิได้หมายรวมถึงรายรับอนาคตเมื่อผ่านจุดคุ้มทุน หมายความว่ามูลค่าระยะยาวที่ได้รับจากการลงทุนไปกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นมิได้สะท้อนรวมอยู่ในสมการนี้ด้วย
UR3 - lillebror fra Universal Robots
UR3 – lillebror fra Universal Robots
ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นมักจะแสดงเป็นอัตราส่วน คำนวณยอดกำไรสุทธิของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย “บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่มีวิธีการแบบดั้งเดิมในการคำนวณผลตอบแทน และจะอิงการลดต้นทุนค่าแรงงงาน (direct labor savings) และผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ผลประโยชน์จริง ๆ แล้วของหุ่นยนต์มิได้อยู่ในแบบระยะสั้น” รอน พอตเตอร์ ผู้อำนวยการ Robotics Technology for Factory Automation Systems, Inc.[2] ตั้งข้อสังเกต

ข้อควรคำนึงสามประการ

มีวิธีการลดต้นทุนทางอ้อม และเพิ่มประโยชน์ที่เกี่ยวข้องที่อาจจะไม่ได้สะท้อนอยู่ในตัวเลขผลตอบแทนจากการลงทุน หรือระยะเวลาคืนทุน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาเมื่อตัดสินใจที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้งาน เช่น ค่าใช้จ่ายแรงงาน ความเสถียรในกระบวนการผลิต และเวลาที่เสียไปกับการหาพนักงานและอบรมพนักงาน
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลแบบออโตเมตที่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ปิดไฟโรงงานหลังพนักงานกลับบ้านกันไปหมดแล้วก็ตาม นอกเหนือไปจากการตรวจสอบตามตารางการบำรุงรักษาปกติแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการพนักงาน อาทิ การลาป่วย หรือประกันสุขภาพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เลยกับเจ้าหุ่นยนต์เหล่านี้ จะเห็นได้ชัดว่าเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการว่าจ้างลงได้มากเมื่อตัองสินใจนำหุ่นยนต์มาติดตั้งใช้งาน
นอกจากนี้ ความเสถียรในกระบวนการผลิตคือสิ่งที่โรงงานจะได้รับเมื่อติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใช้งานในโรงงานในสายการผลิต โดยหุ่นยนต์สามารถที่จะการันตีได้ถึงชิ้นงานที่มีความสม่ำเสมอ คุณภาพสูง ด้วยระบบการทำงานที่เคลื่อนที่ด้วยความเที่ยงตรง ป้องกันการเสียเปล่าของวัสดุ ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภาคการผลิตที่ต้องการความเที่ยงตรงแม่นยำ หรือชิ้นงานขนาดเล็กที่มีราคาสูง
เวลาคือเงินในภาคการผลิต ส่วนงานที่มีหุ่นยนต์มาเกี่ยวข้องนั้น จะประหยัดเวลาลงไปได้ในส่วนที่เคยใช้เพื่อการสรรหาคนงาน ซึ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป สามารถตั้งสายการผลิตได้รวดเร็ว ซึ่งชดเชยเวลาที่เสียไปกับการสรรหาว่าจ้างคนงานเข้าโรงงานชดเชยคนที่ออกไป เป็นต้น
universal-robot-manufacture-industry3

แหล่งงานใหม่

ความนิยมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในเอเชียนั้นมิได้หมายถึงแต่สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยสำหรับคนงานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างงานให้อีกด้วย รายงานในปี พ.ศ. 2556 โดยเมตรา มาร์เทค คาดการณ์ว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะสร้างงานระหว่าง 900,000 ถึง 1.5 ล้านตำแหน่งระหว่างปี 2012 ถึง 2016[3] ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเท่านั้นจึงจะมีศักยภาพพอที่จะให้ผลิตผลที่เที่ยงตรงแม่นยำ มีคุณภาพเสมอต้นเสมอปลาย ในราคาที่สามารถแข่งขันได้ เช่นในธุรกิจอุปกรณ์เพื่อสันทนาการ เป็นต้น
ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแข่งขันสูง เช่น โทรศัพท์และแท็บเล็ต ต่างกดราคาสินค้าลง เป็นเหตุให้เพิ่มความกดดันแก่ผู้การผลิตที่ต้องตัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตั้งราคาสินค้าของตนให้แข่งขันได้ ช่วยกระบวนการกระจายสินค้าและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทางอ้อม และสร้างงานเพื่อสนับสนุนรองรับกิจกรรมการค้าขายได้อีกด้วย
universal-robot-manufacture-industry4

คิดอย่างก้าวไกล มองไปเบื้องหน้า

จากการที่มีผู้นำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาติดตั้งใช้งานในโรงงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงยิ่งเป็นการเพิ่มความสำคัญสำหรับผู้ผลิตที่เป็นเอสเอ็มอีที่จะพิจารณาลงทุนกับเทคโนโลยี เพื่อรักษาสถานภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจ มาตรการรูปแบบที่ใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการลงทุนมักจะไม่สะท้อน ภาพรวมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับหุ่นยนต์ที่มีมูลค่าในระยะยาว ผู้ผลิตจำเป็นต้อง มองข้ามการลงทุนแรกเริ่ม และพิจารณา การประหยัดลดค่าใช้จ่ายในแง่ของเวลาและวัสดุสิ้นเปลือง

หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด






จจุบันระเบิดมีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ การจุดชนวนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และอำนาจทำลายล้างที่เพิ่มขึ้น ทำให้การก่อการร้ายด้วยวัตถุระเบิดมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นที่มาของการค้นคว้าเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน “หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด” จึงเป็นคำตอบและที่มาของ “ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์” (Applied Innovation Centre : AI Centre) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

นายวรนล กิติสาธร นักวิจัยศูนย์ AICentre หนึ่งในกำลังสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และยังมีสมาชิกคนอื่น ๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดยหัวหอกคนสำคัญ ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่สนับสนุนให้นำ “ความรู้” มาเป็น “พลัง” ในการช่วยเหลือสังคม บอกว่า ศูนย์ AICentre เป็นสถานที่ศึกษา, ทดลอง, ผลิต รวมถึงดัดแปลงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดเวอร์ชั่นใหม่ ๆ มาใช้ ให้อัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่จริง โดยได้ร่วมกับ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก, บริษัท เอวีเอ แชทคอม จำกัด ผลิตหุ่นยนต์ฯ ไปใช้งานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว และพร้อมจัดตั้งศูนย์ซ่อมแซมหุ่นยนต์ เพื่อนำกลับไปใช้งานใหม่

นอกจากจะประหยัด “ชีวิต” บุคลากรเพื่อชาติแล้ว ยังเซฟเงินในกระเป๋าของกองทัพได้อีกทางหนึ่งด้วย จากหุ่นยนต์ต้นแบบเมื่อปี 2556 พัฒนาจนนำมาใช้งานจริงในปีนี้ นอกจากจะได้ประโยชน์ในด้านรักษาชีวิตทหารหาญแล้ว รุ่นพี่อย่าง

วรนล ยังได้ช่วยถ่ายทอดความคิด, วิสัยทัศน์, ความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ ให้กับบัณฑิตในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในแต่ละสาขาที่นี่ จากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย วรนล บอกว่า นอกจากให้ความรู้เชิงทฤษฎีในห้องบรรยายแล้ว ยังมีความรู้ในห้องปฏิบัติงาน ซึ่งนักศึกษาจะได้ทักษะไปใช้ในการทำงานจริง แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ แต่ก็ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในโปรเจคท์สำคัญ

“หลายปีก่อนสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา รุ่นพี่บอกว่าการทำหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดมาจากจิตอาสาและอุดมการณ์ล้วน ๆ ตอนนั้นมีข่าวทหารเสียชีวิตจากระเบิดเยอะมาก มีการคุยกันในหมู่เพื่อน ๆ และอาจารย์ในคณะว่าจะมีส่วนช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือประเทศกับปัญหานี้ได้อย่างไร และหุ่นยนต์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงมาก จึงทำให้เราอยากนำความรู้ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราสามารถประดิษฐ์และพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เอง อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยก็ให้การสนับสนุน จนสามารถสร้างและนำมาสู่ใช้งานจริงได้ ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกที่พวกเราภูมิใจ”

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดเวอร์ชั่นล่าสุด มีจุดเด่นอยู่ที่การทำงาน โดยระบบ Interface System ขนาดกว้าง 548 มิลลิเมตร ยาว 740 มิลลิเมตร สูง 190 มิลลิเมตร ความยาวแขนปีนป่าย 350 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉพาะตัวฐานหุ่นยนต์ ไม่รวมแขนกล 25-30 กิโลกรัม ตัวหุ่นยนต์สามารถรับน้ำหนักแนวดิ่งได้ ณ จุดศูนย์กลางน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน มีระบบป้องกันการลื่นไหลขณะปีนป่ายความชันไม่เกิน 60 องศา ติดตั้งกล้องความละเอียดสูง 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ควบคุมตัวหุ่นยนต์ด้วยระบบไร้สาย ใช้งานได้ 1.30–2 ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ สามารถเปลี่ยนแขนกลได้ทันที และปรับเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์สำรวจได้ และปัจจุบันที่ศูนย์แห่งนี้ได้พัฒนาไปถึงขีดขั้น Inhouse Production คือ สามารถผลิตอะไหล่ทุกชิ้นเองได้ โดยไม่ต้องง้อของนอก

วรนล บอกว่า ปัจจุบันศูนย์ฯ กำลังเร่งทำการวิจัยหุ่นยนต์กู้ระเบิดเพิ่มเติม มีเป้าหมายส่งไปช่วยเหลือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ “ขอบคุณในความเสียสละ ขอบคุณในความเข้มแข็ง ขอบคุณวีรบุรุษที่หลั่งเลือดปกป้องไทย ขอเป็นกำลังใจ เหล่าผู้กล้าที่ยังหยัดยืน ต่อแต่นี้เราจะขอต่อสู้ร่วมกับท่าน ต่อแต่นี้จะไม่ทิ้งท่านลำพังให้เดียวดาย พวกเราศูนย์ AICentre ในฐานะวิศวกรไทยจะ ขอใช้ความสามารถที่มีเป็นกำลังหนุนให้ทหารทุกคนทำหน้าที่อันมีเกียรติได้อย่างปลอดภัย” วรนล กล่าวทิ้งท้าย.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/312280
หุ่นยนต์เรียนแบบมุนษย์

hanson_robotics_sofia
ในงาน Web Summit ได้มีการนำหุ่นยนต์ Sofia จากบริษัท Hanson Robotics ออกมาแสดงและทำการพูดคุยกันบนเวทีกับพิธีกรทั้งสองได้แก่ Ben Goertzel นักวิจัยทางด้าน Artificial Intelligence (AI) และ Mike Butcher จาก TechCrunch ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาได้พอสมควรเพราะ Sofia นี้มีรูปลักษณ์แบบมนุษย์และสามารถตอบสนองต่อบทสนทนาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการแสดงสีหน้าท่าทางระหว่างสนทนา และตอบคำถามเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกได้
แนวคิดของการพัฒนา Sofia ขึ้นมานี้ คือความเชื่อของ Hanson Robotics ที่มองว่าการสื่อสารระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์นั้นจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเข้าใจกันได้มากยิ่งขึ้น หากมนุษย์สามารถเข้าใจการสื่อสารของหุ่นยนต์ได้มากขึ้นจากสีหน้า อารมณ์ การมองตา และท่าทาง รวมถึงการสนทนากับคู่สนทนาที่มีรูปลักษณ์เป็นมนุษย์เช่นเดียวกันก็จะทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษากายต่างๆ และสามารถสื่อสารได้อย่างเปิดเผยมากยิ่งขึ้น
ในทางกลับกัน หากหุ่นยนต์เองนั้นสามารถทำความเข้าใจกับมนุษย์ที่กำลังสื่อสารกันมาอยู่ได้ถึงระดับอารมณ์และความรู้สึก เช่น สามารถสังเกตรอยยิ้มหรือความเครียดที่เกิดขึ้นบนใบหน้าของคู่สนทนา น้ำเสียงที่ใช้ หรืออื่นๆ ได้นั้น ก็จะทำให้หุ่นยนต์เองสามารถโต้ตอบกลับไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่องจักรNC


                                                                         เครื่องจักร NC

เครื่องจักรNC
             เครื่องจักร NC ( Numerical Control) จะถูกควบคุมการทํางานดวยรหัส ที่ประกอบดวยตัวเลข ตัวอักษร     และสัญลักษณอื่น ๆ ซึ่งรหัสเหลาน ี้ จะถูกแปลงใหเปนสัญญาณทางไฟฟา จากน ั้นจึงสงไป กระตุนใหอุปกรณทางไฟฟา เชนมอเตอรหรืออุปกรณอื่น ๆ ทํางาน ทําใหเกิดการเคลื่อนที่ เครื่อง NC รุนแรก ๆ จะปอนรหัสผานทาง Punched Card ตอมามีการพัฒนามาเปนการปอนดวย เทปกระดาษเจาะรู ตอมาถึงยุคท ี่ คอมพิวเตอรเฟองฟูจึงนําคอมพิวเตอรมาเปนตัวปอนรหัสแทน เทป กระดาษ จึงเปนที่มาของเครื่อง CNC (Computerized Numerical Control)


   















เครื่องจักรDNC
         Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม

          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี และยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย

คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
          1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC

          
2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
          3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
          4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
          5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
          6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้
                                                     รูปภาพที่เกี่ยวข้อง










เครื่องจักร CNC
CNC เป็นคำย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยควบคุมการทำงานเครื่องจักรกลอัตโนมัติต่างๆ เช่น เครื่องกัด เครื่องกลึง เครื่องเจาะ เครื่องเจียระไน ฯลฯ โดยการสร้างรหัส ตัวเลข สัญลักษณ์ หรือเรียกว่าโปรแกรม NC ขึ้นมาควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล   ซึ่งสามารถทำให้ผลิตชิ้นงานได้รวดเร็วถูกต้อง และเที่ยงตรง นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เทคโนโลยีทางด้านไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามามีบทบาทแทนที่หลอดสุญญากาศ และทรานซิสเตอร์ก็มีการพัฒนาจากเครื่องจักร NC มาเป็นเครื่องจักร CNC (Computer Numerically Controlled) และเครื่องจักร CNC ก็กลายเป็นพระเอกที่โดดเด่นเรื่อยมา เนื่องจากมีหน่วยความจำขนาดใหญ่สามารถบรรจุโปรแกรมการทำงานต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีจอภาพแสดงผลแบบกราฟิกแสดงผลหรือจำลองการทำงานได้อีกด้วย ในการโปรแกรมข้อมูลเข้าไปยังตัวควบคุมเครื่องจักร (Machine Control) ซึ่งเรียกการควบคุมแบบนี้ว่าระบบ softwired โดยมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ แบบเก่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บโปรแกรมได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็เป็นยุคต้นของเครื่องจักรกล CNC เครื่อง CNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง DNC เป็นแนวความคิดใหม่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์หนึ่งตัว (Main Computer or Host) เป็นศูนย์กลางในการควบคุม และบริหารเครื่องจักรกล NC และ CNC หลายๆ เครื่องCNC จะใช้เทปแม่เหล็ก, แผ่นดิสก์ หรือ ดรัม (Drum) ในการเก็บข้อมูลที่โปรแกรมเอาไว้การโปรแกรมสามารถทำได้ที่ สถานีควบคุมไปยังกลุ่มเครื่องจักรกล NC แต่ถ้าเป็นกลุ่มหรือเครื่องจักรกล CNC การโปรแกรมหรือรับสัญญาณมักจะรับจาก เครื่องจักรเองโดยตรงหรือเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ประจำเครื่อง ในการควบคุมเครื่องจักรกลซีเอ็นซี จะใช้โปรแกรมรหัสจีเป็นชุดคำสั่ง เพื่อควบคุมขับเครื่องมือตัดเฉือน (Tool) จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง    หรือเปิด-ปิดสารหล่อเย็นหรือเปลี่ยนเครื่องมือตัดเฉือน โดยเครื่องจักรกลจะทำงานโดยอัตโนมัติตามที่ได้โปรแกรมไว้ตามชุดคำสั่ง เราไม่สามารถแยกเครื่องจักรซีเอ็นซีและรหัสจีออกจากกันได้  ถ้าเราต้องการให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานเราต้องเรียนรู้รหัสจีเพื่อที่เราจะได้พูดภาษาเดียวกับตัวควบคุมซีเอ็นซีได้ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนาโปรแกรม CAD/CAM ขึ้นมาใช้งานร่วมกับเครื่องจักรกล CNC ช่วยให้เข้าใจถึงวิธีการโปรแกรมรหัสจี เพื่อให้เครื่องจักรซีเอ็นซีทำงานตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
























รูปภาพเครื่งจักรกล CNC






สมาชิกในห้องเรียน           อาจารย์ ธภัทร ชัยชูโชค     อาจารย์ปาล์ม               นายเกียรติศักดิ์ เกตุอักษร                        ...