หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม
ยุคแห่งหุ่นยนต์
ประธานบริษัทซอฟต์แบงก์กรุ๊ปแห่งญี่ปุ่น คุณมาซาโยชิ ซันได้ทำนายไว้ในเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2558 นี้ว่า จำนวนของหุ่นยนต์จะเติบโตแซงหน้าจำนวนประชากรมนุษย์ภายในอีก 30 ปีข้างหน้า ด้วยผู้คนต่างก็ชื่นชอบหุ่นยนต์ที่เลียนแบบกิริยาท่าทางมนุษย์และปฏิบัติงานต่าง ๆ ได้ ดังนั้นจึงเป็นข่าวดีของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในการนำหุ่นยนต์มาติดตั้งใช้งานเป็นจำนวนมาก ตามรายงานการสำรวจโดยสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติชี้จำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลกปัจจุบันมีมากกว่า 200,000 ตัวเมื่อปี พ.ศ. 2557 โดยความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ย 12% ต่อปีนับจากปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2560
[1]
เลือกสรรการลงทุนอย่างชาญฉลาด
นอกจากบริษัทที่มีสายการผลิตขนาดใหญ่ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้แล้ว ธุรกิจขนาดเอสเอ็มอีก็สามารถนำมาใช้งานได้อย่างดี ด้วยขนาดที่กะทัดรัดและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยของหุ่นยนต์รุ่นใหม่ ๆ แต่เมื่อต้องการลงทุนเริ่มต้นก็เป็นประเด็นสำคัญที่เอสเอ็มอีต้องระแวดระวังเป็นอย่างยิ่ง และมักจะอิงกับมาตรการการเงินดังนี้: ระยะเวลาคืนทุน หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน
ระยะเวลาคืนทุนนั้นติดตามผลเป็นรายปี และระยะเวลาที่การลงทุนนั้นใช้เพื่อให้ได้กระแสเงินสดรับสุทธิที่ได้จากการลงทุนคุ้มค่ากับต้นทุนที่ต้องลงทุนไป มีข้อเสียเปรียบหลายประการในการวัดความเสี่ยงการลงทุนด้วยวิธีนี้ อาทิ วิธีการนี้มิได้หมายรวมถึงรายรับอนาคตเมื่อผ่านจุดคุ้มทุน หมายความว่ามูลค่าระยะยาวที่ได้รับจากการลงทุนไปกับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นมิได้สะท้อนรวมอยู่ในสมการนี้ด้วย
ผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นมักจะแสดงเป็นอัตราส่วน คำนวณยอดกำไรสุทธิของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย “บริษัทผู้ผลิตส่วนใหญ่มีวิธีการแบบดั้งเดิมในการคำนวณผลตอบแทน และจะอิงการลดต้นทุนค่าแรงงงาน (direct labor savings) และผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ผลประโยชน์จริง ๆ แล้วของหุ่นยนต์มิได้อยู่ในแบบระยะสั้น” รอน พอตเตอร์ ผู้อำนวยการ Robotics Technology for Factory Automation Systems, Inc.
[2] ตั้งข้อสังเกต
ข้อควรคำนึงสามประการ
มีวิธีการลดต้นทุนทางอ้อม และเพิ่มประโยชน์ที่เกี่ยวข้องที่อาจจะไม่ได้สะท้อนอยู่ในตัวเลขผลตอบแทนจากการลงทุน หรือระยะเวลาคืนทุน เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณาเมื่อตัดสินใจที่จะนำหุ่นยนต์มาใช้งาน เช่น ค่าใช้จ่ายแรงงาน ความเสถียรในกระบวนการผลิต และเวลาที่เสียไปกับการหาพนักงานและอบรมพนักงาน
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลแบบออโตเมตที่สามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง แม้ปิดไฟโรงงานหลังพนักงานกลับบ้านกันไปหมดแล้วก็ตาม นอกเหนือไปจากการตรวจสอบตามตารางการบำรุงรักษาปกติแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีสวัสดิการพนักงาน อาทิ การลาป่วย หรือประกันสุขภาพ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เลยกับเจ้าหุ่นยนต์เหล่านี้ จะเห็นได้ชัดว่าเข้ามาช่วยลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการว่าจ้างลงได้มากเมื่อตัองสินใจนำหุ่นยนต์มาติดตั้งใช้งาน
นอกจากนี้ ความเสถียรในกระบวนการผลิตคือสิ่งที่โรงงานจะได้รับเมื่อติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใช้งานในโรงงานในสายการผลิต โดยหุ่นยนต์สามารถที่จะการันตีได้ถึงชิ้นงานที่มีความสม่ำเสมอ คุณภาพสูง ด้วยระบบการทำงานที่เคลื่อนที่ด้วยความเที่ยงตรง ป้องกันการเสียเปล่าของวัสดุ ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับภาคการผลิตที่ต้องการความเที่ยงตรงแม่นยำ หรือชิ้นงานขนาดเล็กที่มีราคาสูง
เวลาคือเงินในภาคการผลิต ส่วนงานที่มีหุ่นยนต์มาเกี่ยวข้องนั้น จะประหยัดเวลาลงไปได้ในส่วนที่เคยใช้เพื่อการสรรหาคนงาน ซึ่งไม่จำเป็นอีกต่อไป สามารถตั้งสายการผลิตได้รวดเร็ว ซึ่งชดเชยเวลาที่เสียไปกับการสรรหาว่าจ้างคนงานเข้าโรงงานชดเชยคนที่ออกไป เป็นต้น
แหล่งงานใหม่
ความนิยมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในเอเชียนั้นมิได้หมายถึงแต่สภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยสำหรับคนงานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างงานให้อีกด้วย รายงานในปี พ.ศ. 2556 โดยเมตรา มาร์เทค คาดการณ์ว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะสร้างงานระหว่าง 900,000 ถึง 1.5 ล้านตำแหน่งระหว่างปี 2012 ถึง 2016
[3] ตัวอย่างเช่น มีกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเท่านั้นจึงจะมีศักยภาพพอที่จะให้ผลิตผลที่เที่ยงตรงแม่นยำ มีคุณภาพเสมอต้นเสมอปลาย ในราคาที่สามารถแข่งขันได้ เช่นในธุรกิจอุปกรณ์เพื่อสันทนาการ เป็นต้น
ในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการแข่งขันสูง เช่น โทรศัพท์และแท็บเล็ต ต่างกดราคาสินค้าลง เป็นเหตุให้เพิ่มความกดดันแก่ผู้การผลิตที่ต้องตัดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตั้งราคาสินค้าของตนให้แข่งขันได้ ช่วยกระบวนการกระจายสินค้าและปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าทางอ้อม และสร้างงานเพื่อสนับสนุนรองรับกิจกรรมการค้าขายได้อีกด้วย
คิดอย่างก้าวไกล มองไปเบื้องหน้า
จากการที่มีผู้นำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาติดตั้งใช้งานในโรงงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงยิ่งเป็นการเพิ่มความสำคัญสำหรับผู้ผลิตที่เป็นเอสเอ็มอีที่จะพิจารณาลงทุนกับเทคโนโลยี เพื่อรักษาสถานภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจ มาตรการรูปแบบที่ใช้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการลงทุนมักจะไม่สะท้อน ภาพรวมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับหุ่นยนต์ที่มีมูลค่าในระยะยาว ผู้ผลิตจำเป็นต้อง มองข้ามการลงทุนแรกเริ่ม และพิจารณา การประหยัดลดค่าใช้จ่ายในแง่ของเวลาและวัสดุสิ้นเปลือง
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
จจุบันระเบิดมีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ การจุดชนวนที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น และอำนาจทำลายล้างที่เพิ่มขึ้น ทำให้การก่อการร้ายด้วยวัตถุระเบิดมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการป้องกันการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นที่มาของการค้นคว้าเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน “หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด” จึงเป็นคำตอบและที่มาของ “ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์” (Applied Innovation Centre : AI Centre) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
นายวรนล กิติสาธร นักวิจัยศูนย์ AICentre หนึ่งในกำลังสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด และยังมีสมาชิกคนอื่น ๆ ทั้งเจ้าหน้าที่ และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งนำโดยหัวหอกคนสำคัญ ผศ.ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ที่สนับสนุนให้นำ “ความรู้” มาเป็น “พลัง” ในการช่วยเหลือสังคม บอกว่า ศูนย์ AICentre เป็นสถานที่ศึกษา, ทดลอง, ผลิต รวมถึงดัดแปลงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดเวอร์ชั่นใหม่ ๆ มาใช้ ให้อัจฉริยะเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติหน้าที่จริง โดยได้ร่วมกับ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก, บริษัท เอวีเอ แชทคอม จำกัด ผลิตหุ่นยนต์ฯ ไปใช้งานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว และพร้อมจัดตั้งศูนย์ซ่อมแซมหุ่นยนต์ เพื่อนำกลับไปใช้งานใหม่
นอกจากจะประหยัด “ชีวิต” บุคลากรเพื่อชาติแล้ว ยังเซฟเงินในกระเป๋าของกองทัพได้อีกทางหนึ่งด้วย จากหุ่นยนต์ต้นแบบเมื่อปี 2556 พัฒนาจนนำมาใช้งานจริงในปีนี้ นอกจากจะได้ประโยชน์ในด้านรักษาชีวิตทหารหาญแล้ว รุ่นพี่อย่าง
วรนล ยังได้ช่วยถ่ายทอดความคิด, วิสัยทัศน์, ความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ ให้กับบัณฑิตในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในแต่ละสาขาที่นี่ จากรุ่นสู่รุ่นอีกด้วย วรนล บอกว่า นอกจากให้ความรู้เชิงทฤษฎีในห้องบรรยายแล้ว ยังมีความรู้ในห้องปฏิบัติงาน ซึ่งนักศึกษาจะได้ทักษะไปใช้ในการทำงานจริง แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ แต่ก็ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในโปรเจคท์สำคัญ
“หลายปีก่อนสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา รุ่นพี่บอกว่าการทำหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดมาจากจิตอาสาและอุดมการณ์ล้วน ๆ ตอนนั้นมีข่าวทหารเสียชีวิตจากระเบิดเยอะมาก มีการคุยกันในหมู่เพื่อน ๆ และอาจารย์ในคณะว่าจะมีส่วนช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือประเทศกับปัญหานี้ได้อย่างไร และหุ่นยนต์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงมาก จึงทำให้เราอยากนำความรู้ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เราสามารถประดิษฐ์และพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เอง อีกทั้งทางมหาวิทยาลัยก็ให้การสนับสนุน จนสามารถสร้างและนำมาสู่ใช้งานจริงได้ ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกที่พวกเราภูมิใจ”
หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดเวอร์ชั่นล่าสุด มีจุดเด่นอยู่ที่การทำงาน โดยระบบ Interface System ขนาดกว้าง 548 มิลลิเมตร ยาว 740 มิลลิเมตร สูง 190 มิลลิเมตร ความยาวแขนปีนป่าย 350 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉพาะตัวฐานหุ่นยนต์ ไม่รวมแขนกล 25-30 กิโลกรัม ตัวหุ่นยนต์สามารถรับน้ำหนักแนวดิ่งได้ ณ จุดศูนย์กลางน้ำหนัก 20 กิโลกรัม ขับเคลื่อนด้วยล้อสายพาน มีระบบป้องกันการลื่นไหลขณะปีนป่ายความชันไม่เกิน 60 องศา ติดตั้งกล้องความละเอียดสูง 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ควบคุมตัวหุ่นยนต์ด้วยระบบไร้สาย ใช้งานได้ 1.30–2 ชั่วโมง สามารถติดตั้งแขนกลได้หลายรูปแบบ สามารถเปลี่ยนแขนกลได้ทันที และปรับเปลี่ยนเป็นหุ่นยนต์สำรวจได้ และปัจจุบันที่ศูนย์แห่งนี้ได้พัฒนาไปถึงขีดขั้น Inhouse Production คือ สามารถผลิตอะไหล่ทุกชิ้นเองได้ โดยไม่ต้องง้อของนอก
วรนล บอกว่า ปัจจุบันศูนย์ฯ กำลังเร่งทำการวิจัยหุ่นยนต์กู้ระเบิดเพิ่มเติม มีเป้าหมายส่งไปช่วยเหลือสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อลดความสูญเสียให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ “ขอบคุณในความเสียสละ ขอบคุณในความเข้มแข็ง ขอบคุณวีรบุรุษที่หลั่งเลือดปกป้องไทย ขอเป็นกำลังใจ เหล่าผู้กล้าที่ยังหยัดยืน ต่อแต่นี้เราจะขอต่อสู้ร่วมกับท่าน ต่อแต่นี้จะไม่ทิ้งท่านลำพังให้เดียวดาย พวกเราศูนย์ AICentre ในฐานะวิศวกรไทยจะ ขอใช้ความสามารถที่มีเป็นกำลังหนุนให้ทหารทุกคนทำหน้าที่อันมีเกียรติได้อย่างปลอดภัย” วรนล กล่าวทิ้งท้าย.... อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/312280
หุ่นยนต์เรียนแบบมุนษย์
ในงาน Web Summit ได้มีการนำหุ่นยนต์ Sofia จากบริษัท Hanson Robotics ออกมาแสดงและทำการพูดคุยกันบนเวทีกับพิธีกรทั้งสองได้แก่ Ben Goertzel นักวิจัยทางด้าน Artificial Intelligence (AI) และ Mike Butcher จาก TechCrunch ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาได้พอสมควรเพราะ Sofia นี้มีรูปลักษณ์แบบมนุษย์และสามารถตอบสนองต่อบทสนทนาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงมีการแสดงสีหน้าท่าทางระหว่างสนทนา และตอบคำถามเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกได้
แนวคิดของการพัฒนา Sofia ขึ้นมานี้ คือความเชื่อของ Hanson Robotics ที่มองว่าการสื่อสารระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์นั้นจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและเข้าใจกันได้มากยิ่งขึ้น หากมนุษย์สามารถเข้าใจการสื่อสารของหุ่นยนต์ได้มากขึ้นจากสีหน้า อารมณ์ การมองตา และท่าทาง รวมถึงการสนทนากับคู่สนทนาที่มีรูปลักษณ์เป็นมนุษย์เช่นเดียวกันก็จะทำให้มนุษย์สามารถใช้ภาษากายต่างๆ และสามารถสื่อสารได้อย่างเปิดเผยมากยิ่งขึ้น
ในทางกลับกัน หากหุ่นยนต์เองนั้นสามารถทำความเข้าใจกับมนุษย์ที่กำลังสื่อสารกันมาอยู่ได้ถึงระดับอารมณ์และความรู้สึก เช่น สามารถสังเกตรอยยิ้มหรือความเครียดที่เกิดขึ้นบนใบหน้าของคู่สนทนา น้ำเสียงที่ใช้ หรืออื่นๆ ได้นั้น ก็จะทำให้หุ่นยนต์เองสามารถโต้ตอบกลับไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น